หน่วยที่ 4


บทที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา    เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบไปด้วย
๑.  ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
๒.  ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้      เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็น
วัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
๓.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว     นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
                ๔.  ทฤษฎีการเรียนรู้  นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ    ผู้เรียน  เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
๕.  ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
                ๖.  หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม 
๗.  หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ      แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่   เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ 
สุขภาพจิต
 สุขภาพจิต  หมายถึงคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมได้ดี   พอสมควรและสามารถจะสนองความต้องการของตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและ  สิ่งแวดล้อมอื่นโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจมากนักคนที่สุขภาพจิตดี จะสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ในระดับที่เหมาะสม สามารถลดความวิตกกังวลอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาหรือเนื่องมาจากความขัดแย้งด้วยวิธีการที่สมเหตุสมผลและไม่ใช้  กลวิธานป้องกันตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งนานๆ หรือรุนแรงจนเกินไป
การจูงใจ
การจูงใจ (Motivation)   คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
                ๑.  การจูงใจ  คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
                ๒.  การจูงใจ  หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
                ๓.  การจูงใจ  หมายถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่        จุดหมายปลายทาง


ทัศนคติและความสนใจ
ความหมายของทัศนคติ
                ทัศนคติ (Attitude)   หมายถึงความรู้สึกและท่าทีของคนเราที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกในทางชอบ ไม่ชอบและมีผลทำให้บุคคลพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้นตามความรู้สึกดังกล่าวองค์ประกอบทัศนคติจากความหมายของทัศนคติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ทัศนคติประกอบไปด้วย
๑.  องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Component) ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ของบุคคล  ต่อสิ่งของ บุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างดีอย่างแท้จริงและเกิดทัศนคติในทางที่ดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดการรับรู้ในทางที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ยากไป ก็จะมีทัศนคติไม่ดีต่อสิ่งนั้น             
๒.  องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก  (Affective Component) เป็นสภาพทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลถูกเร้าจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าเราชอบ สบายใจ สนุก ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีแต่ถ้าไม่ชอบ ไม่สนุก ถูกดูหมิ่น  ถูกเยาะเย้ย ก็จะมีทัศนคติในทางที่ไม่ดี
๓.  องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มของการกระทำ (Action Tendency Component)  เป็นทิศทางของการตอบสนองหรือการกระทำในทางใดทางหนึ่งซึ่ง เป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านความคิดและความรู้สึก ของบุคคลต่อสิ่งเร้า ถ้ารู้ว่าดี เรียนแล้วเข้าใจ เรียนแล้วสนุก มีแนวโน้มจะเข้าเรียนตลอดเวลา สนับสนุน ส่งเสริม เป็นพวกด้วยหรือร่วมกิจกรรมด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจ ยาก ไม่สนุก  ถูกดุว่า ถูกดูหมิ่น เพื่อนหัวเราะเยาะก็มีแนวโน้มจะไม่อยากเข้าเรียน คอยหลบหน้า คอยต่อต้านขัดขืนและไม่ร่วมกิจกรรมด้วย
ความสนใจกับการเรียนรู้
                ความสนใจ (Interest) เป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ กล่าวคือเป็นความรู้สึกในทางที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของพฤติกรรมเป็นในทางที่ดี เช่น ถ้าเด็กสนใจคณิตศาสตร์ จะเข้าเรียนทุกชั่วโมงและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปเพื่อวิชานี้ มากกว่าอย่างอื่นความสนใจของบุคคลจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความถนัด รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ
๑.  ต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่ว่าเป็นอย่างไร จะได้จัดบทเรียน สภาพห้องเรียน สื่อการเรียนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของเขา
                ๒.  ก่อนจะสอนเรื่องใดควรสำรวจความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน  เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรงกับที่เขาต้องการ
๓.  จัดสภาพห้องเรียนให้น่าสนใจ ตั้งคำถามยั่วยุและท้าทายความสามารถของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับสภาพการณ์บางอย่างที่เป็นปัญหา ที่แปลกไปจากเดิม เป็นต้น
๔.  ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในงานที่ทำบ้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้เขาทำงานระดับสูงต่อไป โดยเลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน จะช่วยให้เขาสนใจงานที่มอบหมายให้ทำ
๕.  ชี้ทางหรือรายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียนให้ทราบเป็นระยะๆ ให้เขาได้ทราบว่าเขาก้าวมาถึงไหนแล้ว อีกไม่กี่ขั้นก็จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้ว จะทำให้เขาตั้งใจทำเพื่อผลสำเร็จของตัวเขาเอง
๖.  ฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเขาบ้าง จากการศึกษานอกสถานที่ จากการสังเกต หรือจากการสัมภาษณ์ สอบถามจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนการทดลองค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน หรือให้นักเรียนฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามได้ในโรงเรียน หรือนอกห้องเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการฝึกวินัยด้วยตัวของนักเรียนเอง

จิตวิทยาการเรียนรู้ — Presentation Transcript
•              1. จิตวิทยาการเรียนรู้ Psychology of Learning
•              2. Psychology of Learningทฤษฏีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา มี 3 กลุ่ม กลุ่มฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม กลุ่มทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญานิยม กลุ่มการเรียนรู้มานุษยนิยม
•              3. Psychology of Learningทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ
•              4. Psychology of Learningการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม


•              5. Psychology of Learning การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้ - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม - ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ - กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ - ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ - การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์ - ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
•              6. Psychology of Learningการผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ JeroBroonerเพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม 2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน 3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ ( act ) ความรู้สึกและความคิด 4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม 5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม
7. Psychology of Learningนาย ชูเกียรติ ใจเพชร 52070581007 นาง สริญชญา มีดี 52070581020 นำเสนอโดย นิสิตปริญญาโท คณะ ศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา รุ่นที่ 12 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์การศึกษานครราชสีมา
               

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
1.            ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
2.            ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
3.            ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม

การสอนแบบทบทวน
            การสอนแบบทบทวน (Programmed Tutoring) หมายถึง วิธีการสอนตัวต่อตัวที่ผู้ให้การทบทวนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดโปรแกรมล่วงหน้า โดยการใช้สื่อที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ ผู้ทบทวนจะมีคู่มือพร้อมคำเฉลย ส่วนผู้เรียนจะมีแบบฝึกหัดแต่จะไม่มีคำเฉลย ผู้ทบทวนจะเลือกขั้นตอนการทบทวน โดยพิจารณาจากการตอบสนองแต่ละครั้งของผู้เรียน
การเรียนรายบุคคล
              การเรียนรายบุคคล เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่ง ที่นำเอาทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้โดยผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อการเรียนต่างๆ เช่น หนังสือแบบเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฟิล์มลูป ฟิล์มสตริปและบทเรียนโปรแกรม เป็นต้น สื่อการเรียนแบบนี้จะจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปเป็นขั้นตอน และต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถเรียนได้ดี ก่อนที่จะย้ายไปเรียนขั้นตอนต่อไปโดยมีการทดสอบไปเรื่อยๆ มีผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนที่เก่งช่วยแนะนำและจัดการเรื่องการทดสอบ หลังการทดสอบ ผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนเก่งจะช่วยทบทวนอีกครั้ง ถ้าผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องทดสอบด้วยข้อสอบใหม่เรื่อยๆ นักเรียนสามารถทดสอบใหม่ได้ถึง 4 ครั้ง การเรียนลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเรียนเป็นรายบุคคลโดยครูเป็นผู้วางแผน จัดการและมีผู้ช่วยหรือนักเรียนที่เก่งเป็นผู้คอยแนะนำ
หลักการของการเรียนรายบุคคล ประกอบด้วย
         1) เสนอเนื้อหาข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้เรียน
          2) ผู้เรียนตอบสนองต่อเนื้อหาข้อมูลนั้น ๆ
          3) ได้รับข้อมูลย้อนกลับในทันทีทันใด้
การเรียนรายบุคคล
         การเรียนรายบุคคล เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่ง ที่นำเอาทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้โดยผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อการเรียนต่างๆ เช่น หนังสือแบบเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฟิล์มลูป ฟิล์มสตริปและบทเรียนโปรแกรม เป็นต้น สื่อการเรียนแบบนี้จะจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปเป็นขั้นตอน และต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถเรียนได้ดี ก่อนที่จะย้ายไปเรียนขั้นตอนต่อไปโดยมีการทดสอบไปเรื่อยๆ มีผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนที่เก่งช่วยแนะนำและจัดการเรื่องการทดสอบ หลังการทดสอบ ผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนเก่งจะช่วยทบทวนอีกครั้ง ถ้าผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องทดสอบด้วยข้อสอบใหม่เรื่อยๆ นักเรียนสามารถทดสอบใหม่ได้ถึง 4 ครั้ง การเรียนลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเรียนเป็นรายบุคคลโดยครูเป็นผู้วางแผน จัดการและมีผู้ช่วยหรือนักเรียนที่เก่งเป็นผู้คอยแนะนำ
หลักการของการเรียนรายบุคคล ประกอบด้วย
          1) เสนอเนื้อหาข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้เรียน
          2) ผู้เรียนตอบสนองต่อเนื้อหาข้อมูลนั้น ๆ
  ระบบการสอนทบทวนด้วยเทปเสียง
             ระบบการทบทวนด้วยเทปเสียง (Audio-Tutorial Systems) เป็นการให้ความรู้หลากหลายแก่ผู้เรียน โดยผ่านทางสื่อเทปเสียง ไม่ใช้วิธีการบรรยายเนื้อหาแต่เป็นการทบทวนพูดคุยระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยยึดหลักการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีครูผู้สอนในชั้นเรียนคอยให้ความช่วยเหลือแนะนำอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนจะเรียนได้ช้าหรือเร็วตามความสามารถของตนเองในการเรียนด้วยวิธีการนี้ อาจใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนได้ เช่น เครื่องมือการทดลองวิทยาศาสตร์ ฟิล์มสตริป สี กระดาษ เป็นต้น โดยทั่วไปจะสามารถแยกกระบวน
    การเรียนวิธีนี้มี 2 ขั้นตอน คือ
          1. ขั้นการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่โดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
 2. ขั้นการเรียนเป็นรายบุคคล อาจเป็นกลุ่มเล็ก 6-10 คนก็ได้ ภายหลังจากที่มีการพบกันในกลุ่มใหญ่แล้ว จุดมุ่งหมายของขั้นนี้ เพื่อการสำรวจดูว่าผู้เรียนแต่ละคนได้เข้าใจหลักการทฤษฎีต่างๆ มากน้อยเพียงใด
เทคโนโลยีการสอนประเภทนี้ ยึดหลักการและทฤษฎีของศาสตร์การเรียนรู้ของมนุษย์ ดังนี้
          1. การสนทนาด้วยเทปเสียง ยึดหลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
          2. เน้นสื่อที่เป็นรูปภาพ เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ ของจริง ที่จะช่วยให้เกิดความรู้โดยให้ได้รับข่าวสารข้อมูลที่มีความหมาย
          3. ยึดหลักความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน ตลอดจนรูปแบบการเรียนและอัตราการเรียนที่แตกต่างกัน
          4. ยึดจิตวิทยาเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์โดยส่วนรวม เหตุผลที่กล่าวว่า การเรียน ลักษณะนี้ เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่งก็เพราะ ยึดหลักการสอนเป็นหน่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน มีข้อมูลย้อนกลับให้ได้ที่
3) ได้รับข้อมูลย้อนกลับในทันทีทัน
หน่วยการสอนย่อย
          หน่วยการสอนย่อย (Modules) อาจเรียกชื่อได้หลายอย่าง เช่น ชุดการเรียนด้วยตนเองชุดกิจกรรม หน่วยการสอนย่อยโดยปกติออกแบบไว้สำหรับการเรียนด้วยตนเอง แต่ก็มีบ้างที่ใช้ในการเรียนแบบกลุ่ม เช่น เกม สถานการณ์จำลอง หรือประสบการณ์ภาคสนาม เทคโนโลยีที่นำหน่วยการสอนย่อยไปใช้คือ การเรียนด้วยตนเอง (PSI) และการทบทวนด้วยเทปเสียง (A-T) อย่างไรก็ตามหน่วยการสอนย่อยนี้มิใช่เทคโนโลยีการสอนโดยตัวของมันเองแต่จะเป็นส่วนที่ประกอบอยู่กับเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ

คุณลักษณะของหน่วยการสอนย่อย
          1. หลักการเหตุผล โดยชี้ให้เห็นว่าทำไมผู้เรียนจึงควรเรียนเนื้อหานี้
          2. จุดประสงค์ หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับจากการเรียนเนื้อหานี้
          3. การทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดทักษะความสามารถของผู้เรียนก่อนการเรียนเนื้อหา
          4. กิจกรรมการเรียน บอกแหล่งสื่อและข้อมูลที่จะเรียน ซึ่งตัวเนื้อหาที่เรียนนี้ จะไม่ถูกบรรจุลงในหน่วยการเรียนโดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น